พม่ายุคอาณาจักรพุกาม
|
ภาพจากแฟนเพจ
- เที่ยวพม่า พม่าพาเที่ยว
|
กว่าหนึ่งพันพี่ก่อน
ทางตอนเหนือของพม่าในปัจจุบันอาณาจักรที่เรืองอำนาจที่สุดในยุคนั้นของพม่าคือ
พุกาม (Bagan) และด้วยพระปรีชาของกษัตริย์อโนรธาแห่งราชวงศ์พุกาม
ที่สามารถรวบรวมแว่นแคว้นอิสระต่างๆจนอาณาจักรพุกามเป็นปึกแผ่น
และอาจเรียกได้ว่าเป็นยุคหนึ่งที่พม่าพุกาม มีอาณาเขตยิ่งใหญ่ในภูมิภาคนี้
อีกทั้งพุกามยังเป็นอาณาจักรที่มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก
ทั้งกษัตริย์ราชวงศ์พุกามและประชาชนชาวพุกามมีกุศลจิตในการสร้างพระเจดีย์น้อยใหญ่มากมายบนแผ่นดินพุกามเพื่อเป็นพุทธบูชา
กล่าวกันว่ามีเจดีย์กว่า 5,000 องค์ในพุกามในยุคที่รุ่งเรืองถึงขีดสุด
|
ภาพจากแฟนเพจ
- เที่ยวพม่า พม่าพาเที่ยว
|
อาณาจักรพุกามเริ่มเสื่อมอำนาจลงจากการรุกรานของจักรวรรดิมองโกลจากจีนที่มีพละกำลังมากขึ้นเรื่อยๆและขยายอิทธิพลลงมาทางใต้
และเมื่ออาณาจักรพุกามหมดอำนาจลง ชาวพม่าพุกามก็อพยพร่นลงมากระจายเป็นอาณาจักรย่อยๆทั้ง
อังวะ ตองอู และมอญ
พม่ายุคอาณาจักรหงสาวดีที่ปกครองโดยชนชาติมอญ
และตองอู
|
ภาพวาดจากจินตนาการครั้งพระเจ้าตะเบงชะเวตี้
บุกไปประกอบพิธีเจาะพระกรรณ ณ เจดีย์ชเวมอดอ หงสาวดีซึ่งเป็นเขตอำนาจมอญ
|
หลังสิ้นยุคพุกามพม่าไม่ได้เป็นปึกแผ่นแบบเป็นหนึ่งเดียวอีก
ในบรรดา อังวะ ตองอู และมอญที่แตกเป็นอาณาจักรอิสระนั้น ชนชาติมอญที่มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองหงสาวดี
(Bago) ดูจะมีความแข็งแกร่งและมั่งคั่งมากที่สุด มอญแผ่ขยายอิทธิพลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
และช่วงนี้เองที่มอญสร้างแบบแผนศิลปะวัฒนธรรมแบบมอญมากมาย ทั้งวัดวาอาราม
เจดีย์ และวังที่แทบจะมีอยู่ในทุกแห่งหนในพม่าจนปัจจุบัน แต่อาณาจักรมอญ
ณ หงสาวดีก็โดนมีอันต้องโดนท้าทายเมื่อพม่าตองอูที่มีกษัตริย์นาม
พระเจ้าตะเบงชะเวตี้และพี่เขยที่เป็นนักรบคู่พระทัยนามบุเรงนอง
ที่นำพาตองอูและพม่าสู่ความยิ่งใหญ่อีกครั้ง หงสาวดีของมอญถูกเข้าครอบครองโดยราชวงศ์ตองอูโดยพระเจ้าตะเบงชะเวตี้
ก่อนจะสืบทอดอำนาจสู่กษัตริย์บุเรงนองที่ขึ้นครองราชต่อจากพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ซึ่งเป็นยุคที่พม่าขยายอำนาจและอาณาเขตกว้างขวางอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
จนพระนามของกษัตริย์บุเรงนองถูกเรียกขานว่า "ผู้ชนะสิบทิศ"
|
ภาพวาดจากจิตนาการแสดงความยิ่งใหญ่ของเมืองหงสาวดี
|
|
|
อาณาเขตอำนาจพม่า
ราชวงศ์ตองอู ยุคกษัตริย์บุเรงนอง [1]
|
กษัตริย์บุเรงนองทรงสร้างเมืองหงสาวดี
โดยสร้างพระราชวังอันยิ่งใหญ่ขึ้นใหม่พร้อมๆกับสร้างเจดีย์และบูรณะวัดวามากมาย
ยุคทองของพม่าในความเห็นของผมคือยุคของบุเรงนองนี่เอง หลังสิ้นบุเรงนองก็ไม่มีมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์ตองอูพระองค์ไหนอีก
ที่จะสามารถรักษาดุลอำนาจของตองอูเหนืออาณาจักรอื่นๆและประเทศราชได้อีก
ตองอูค่อยๆเสื่อมอำนาจลงพร้อมๆกับการแข็งเมืองและประกาศตัวเป็นอิสระจากหงสาวดีเรื่อยๆ
ที่สุดหงสาวดีก็โดยศัตรูเก่าอย่างมอญบุกเข้าทำลายจนย่อยยับ กษัตริย์ราชวงศ์ตองอูต้องหนีพ่ายไปตั้งราชธานีอยู่อังวะ
ก่อนที่มอญจะกลับมาครอบครองหงสาวดีอีกครั้ง
พม่ายุคอาณาจักรอังวะ
อมรปุระ และมัณฑะเลย์
|
Maha
Aungmye Bonzan Monastery ณ พระรางวังเก่า เมืองอังวะ
|
หลังตองอูและราชวงศ์ตองอูที่อังวะค่อยๆเสื่อมอำนาจลง
พม่ากลับเข้าสู่ยุคแตกแยกเป็นอาณาจักรอิสระอีกครั้ง มอญกลับมามีอำนาจเข้มแข็งและมีศูนย์กลางอำนาจอยู่ตอนกลางของประเทศ
จนกระทั่งมีการสถาปนาราชวงศ์ใหม่คือราชวงศ์คองบอง
ที่มีพระเจ้าอลองพญา สามัญชนจากเมืองเล็กๆใกล้ๆอังวะ (บางกระแสว่าพระองค์มีเชื้อสายราชวงศ์พุกาม)
เป็นปฐมกษัตริย์ พระองค์สามารถสร้างศูนย์กลางอำนาจขึ้นใหม่ที่อังวะ
ตลอดจนสามารถปราบปรามหัวเมืองต่างๆให้กลับมาอยู่ในพระราชอำนาจ
สร้างชาติพม่าเป็นปึกแผ่นอีกครั้ง
|
|
|
ภาพถ่ายพระราชวังมัณฑะเลย์เมื่อกว่าร้อยปีก่อน
ก่อนที่จะโดนระเบิดทำลายหมดสิ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
|
ต่อมาราชอาณาจักร์ของราชวงศ์คองบองได้ย้ายศูนย์กลางอำนาจจากอังวะ
ไปอมรปุระ และมัณฑะเลย์ในที่สุด โดยมีพระราชวังที่มัณฑะเลย์เป็นราชธานีสุดท้ายก่อนที่การปกครองในระบอบกษัตริย์ของพม่าจะสิ้นสุดลงในราชวงศ์นี้
เข้าสู่ยุคการเป็นอาณานิคมของอังกฤษ
อ้างอิง
[1] http://en.wikipedia.org/wiki/Burma
|